ในขณะที่อาหารตะวันตกแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง มีผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ใช้ตะเกียบไม่คล่อง ส่วนเด็ก ๆ ทั้งหลายก็นิยมใช้ช้อนส้อมกันเป็นส่วนใหญ่ เคยคิดไหมว่า คุณไม่อาจเข้าใจความรู้สึกของแม่ผู้ที่คอยหัดให้ลูกที่เคยชินกับการใช้ช้อนหรือส้อมหันมากินอาหารด้วยตะเกียบได้เลย
แม่ที่เลี้ยงดูลูกต่างก็ไม่ลังเลที่จะช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อยด้วยการซื้อสื่อการสอนและตำราเรียนราคาแพง ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กกล่าวว่า ตะเกียบเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการพัฒนาสมองของเด็ก เนื่องจากตะเกียบมีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมองของเด็กมากกว่าสื่อการสอนบางอย่างที่มีราคาแพง
เนื่องจากเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการใช้ตะเกียบเป็นปกติ จึงไม่ได้มีการเคร่งครัดเรื่องการใช้ตะเกียบตั้งแต่ยังเล็ก ตะเกียบไม่ใช่แค่สิ่งที่ใช้คีบอาหารธรรมดา ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นของเล่นที่ใช้มือที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย ในการขยับตะเกียบหนึ่งครั้งจะตั้งใช้ข้อต่อกว่า 30 ข้อ และใช้กล้ามเนื้อถึง 60 มัด การใช้ตะเกียบเป็นการเคลื่อนไหวที่มีความซับซ้อนสูงและมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาสมอง
ในปัจจุบัน ชาวตะวันตกให้ความสนใจกับการใช้ตะเกียบเพิ่มมากขึ้น มีการวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้ตะเกียบมากมาย จนกระทั่งหนังสือเกี่ยวกับวิธีการใช้ตะเกียบกลายเป็นหนังสือขายดีในประเทศออสเตรเลีย
ถ้าอย่างนั้น ควรเริ่มหัดใช้ตะเกียบตั้งแต่อายุเท่าไรจึงจะช่วยพัฒนาสมองได้
เด็กที่มีอายุระหว่าง 24-36 เดือนจะเริ่มทำตามพฤติกรรมของแม่ ถ้าพ่อแม่ทำสิ่งใด ลูกก็จะพยายามทำสิ่งเหล่านั้นด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้ จึงควรให้เด็กเริ่มฝึกใช้ตะเกียบในช่วงอายุ 3-4 ปี ถ้าผ่านช่วงเวลานี้ไปแล้ว เด็กจะใช้แต่ช้อนกับส้อมเป็นหลัก และจะเรียนรู้การใช้ตะเกียบได้ยาก เนื่องจากเคยชินกับการใช้ช้อนส้อมไปแล้วนั่นเอง
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เด็กอายุ 3-4 ปี จะใช้ตะเกียบของผู้ใหญ่ได้ จึงควรให้เด็กเริ่มจากใช้ตะเกียบหัดคีบที่สามารถเกี่ยวนิ้วมือเข้ากับห่วงได้ ซึ่งตะเกียบหัดคีบช่วยทำให้เด็กเข้าใจว่าจะต้องจับตะเกียบอย่างไรได้ง่ายขึ้น
เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนประถมศึกษา เด็กจะได้เล่นคีบถั่วด้วยตะเกียบที่โรงเรียน และเมื่อสอนเด็กให้ใช้ตะเกียบอยู่แล้วที่บ้าน เด็กก็จะคุ้นเคยกับการใช้ตะเกียบและเล่นคีบถั่วอย่างสนุกสนาน การสอนเด็กใช้ตะเกียบไปในทางเล่นเกมจะสอนได้ผลดีมากกว่าที่จะสอนเด็กใช้ตะเกียบตามหลักการ และถ้าเด็กได้เล่นฝึกใช้ตะเกียบกับพ่อแม่ ความสามารถในการใช้ตะเกียบจะพัฒนาขึ้น และแน่นอนว่าพัฒนาการทางด้านสมองจะมีส่วนช่วยเรื่องพัฒนาการทางด้านอารมณ์ได้ด้วย
อย่าลืมลองใช้ตะเกียบซึ่งเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการพัฒนาสมองมาใช้ในการเล่นสนุกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นแบตมินตันลูกโป่งโดยใช้ตะเกียบ, การส่งต่อถั่วอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวาดรูปด้วยตะเกียบ เป็นต้น